วิธีการใช้งานตลับเก็บสายลม และ ตลับเก็บสายไฟ

การใช้ ตลับเก็บสายลม, ตลับเก็บสายไฟ หรือ ตลับเก็บสายน้ำ จะช่วยให้สถานที่ทำงาน โรงงานอุตสาหกรรม ศูนย์บริการ อู่ซ่อมรถ หรือ Workshop มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ป้องกันอันตราย หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นขณะทำงาน และยังช่วยให้คุณประหยัดเวลาในการทำงาน ส่งผลให้ได้งานมากขึ้น ที่สำคัญช่วยปกป้องดูแลสายลม สายไฟ หรือสายน้ำให้ใช้งานได้นานขึ้น ซึ่งการติดตั้ง การใช้งาน และการบำรุงรักษาตลับเก็บสายลม, ตลับเก็บสายไฟ หรือ ตลับเก็บสายน้ำ ก็มีวิธีที่ไม่ยุ่งยาก


วิธีการใช้งานตลับเก็บสายลม

1. การติดตั้ง

ตรวจสอบสถานที่ ตรวจสอบสถานที่ในการติดตั้ง ให้แน่ใจว่ามีความแข็งแรง สามารถรองรับน้ำหนักของตลับเก็บสายลมได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ตลับหล่นหรือหลุดจากเพดาน หรือผนัง

ติดตั้งเพลท (ตามภาพ)

ใส่แหวนสปริงกับตัวยึด หลังจากนั้นใส่แหวนสปริงกับตัวยึด แล้วตามด้วยน๊อตหางปลา ตรวจสอบให้แน่ใจอีกครั้งว่ายึดดีแล้ว

ให้ปล่อยลม/น้ำ ออกก่อน ก่อนที่จะต่อตลับเก็บสายลม/สายน้ำ เข้ากับสายส่งลม/น้ำ ให้ปล่อยลม/น้ำ ออกก่อนเพื่อป้องการสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในตัวตลับ

ต่อ สายส่ง เข้ากับ สายรับ หลังจากที่ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ต่อสายส่งลม/น้ำ เข้ากับสายรับลม/น้ำ สามารถต่อได้ง่ายๆ เพียงแค่หมุน 180 องศา

ติดตั้งตลับเก็บสายลม

ติดตั้งตลับเก็บสายลม

ติดตั้งวาล์วปิด-เปิด ก่อนเปิดใช้ลม/น้ำ ติดตั้งวาล์วปิด-เปิดที่ตัวข้อต่อสายส่งเพื่อให้ง่ายต่อการปิด-เปิด ตรวจสอบว่ามีการรั่วของลม/น้ำหรือไม่ หากมีการรั่วให้หยุดจ่ายลม/น้ำทันที และตรวจสอบส่วนเชื่อมต่อ

ติดตั้งลูกยาง Stopper ติดตั้งลูกยาง Stopper ตามตำแหน่งที่ต้องการประกอบ แล้วหมุนน๊อตเข้ากับตำแหน่งของสายที่ต้องการ


ติดตั้งตลับเก็บสายลม

**ตลับเก็บสายลม ยังสามารถติดตั้งบนผนังได้ หรือหากต้องการติดตั้งแบบหมุนได้ สามารถทำ ได้ดังนี้

ให้ถอดน๊อต 2 ตัวที่ยึดตรงด้านบนออกจากตัวเครื่อง

การใช้แบบหมุนได้ ต้องตรวจเช็คสถานที่ติดตั้งว่ามีขนาดที่พอเหมาะ


วิธีการติดตั้ง






2. การใช้งาน

การตรวจเช็คสายลม / ข้อต่อ ก่อนการใช้งาน

ตลับเก็บสายลม


การดึงสายลม

ดึงสายลมลงมาช้าๆ ตามความยาวที่ต้องการใช้ จากนั้นค่อยๆปล่อยมือสายลมจะล็อค หากสายลมไม่ล็อคให้ดึงสายลมลงมาช้าๆ อีกประมาณ 6 ถึง 40 เซนติเมตร แล้วปล่อยสายลมช้าๆ อีกครั้ง

ข้อควรระวัง

หากดึงสายลมลงมาจนสุด อาจทำให้ตัวสปริงไม่ทำงาน และไม่สามารถม้วนสายลมกลับเข้าไปได้

ไม่ควรดึงตรงส่วนข้อต่อและไม่ควรเก็บสายลมหากสายยังต่อติดเครื่องมืออยู่

ตลับเก็บสายลม


การเก็บสายลม

เมื่อต้องการเก็บ เมื่อต้องการเก็บสายลมหลังจากการใช้งาน เพียงแค่ดึงสายลมลงมาประมาณ 6 ถึง 40 เซนติเมตร เพื่อปลดล็อค แล้วค่อยๆ ปล่อยสายลมกลับเข้าไป โดยที่ต้องคอยประคองสายลมไปด้วย

ข้อควรระวัง

การดึงสายแล้วปล่อยสายลมทันทีนั้น อาจทำให้พลาดโดนผู้ใช้งาน หรืออาจทำให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องมืออื่นๆ ได้เช่นกัน


สำหรับตลับเก็บสายลมแบบหมุนได้ สามารถใช้งานได้ ดังนี้

ดึงสายลมลงมาช้าๆ จากด้านหน้า ดึงสายลมลงมาช้าๆ จากด้านหน้า หากดึงจากด้านข้างโดยตรงอาจทำให้ตัวเครื่อง หรือที่ยึดเกิดเสียหาย และหล่นลงมาได้ ส่วนการเก็บสายลมสามารถทำได้เช่นเดียวกับข้างต้นที่กล่าวมาได้เลย


การตรวจเช็คหลังการใช้งาน

หลังการใช้งานแล้ว ให้ทำความสะอาดสายลม เช็ดสิ่งแปลกปลอมที่ติดสายลมออก หากตรวจพบความเสียหายหรือปัญหาที่เกิดกับตัวเครื่องหรือสายลม ให้แจ้งช่างเพื่อซ่อมแซมทันที


3. การดูแลรักษา

การดูแลในแต่ละวัน

> ตรวจสอบหาการชำรุดของตัวเครื่อง หรือแก้ไขส่วนที่เชื่อมต่อที่สูญหาย

> หากสายลม ข้อต่อ หรืออุปกรณ์ต่อเชื่อมเกิดคราบเปื้อนจากฝุ่นหรือน้ำมัน ให้เช็ดออกทันที

> ไม่ควรใช้เครื่องล้าง หรือสเปย์ขจัดคราบน้ำมันจะทำให้สายถลอกและชำรุดเสียหายได้

> หากเกิดปัญหาในดึงสายลมหรือเก็บสายลม ให้ใช้สารหล่อลื่น เช่น สเปย์ฉีดหนังจะทำให้ดึงได้ลื่นขึ้น

> ตรวจสอบสายอย่างระมัดระวังทั้งก่อนและหลังใช้งาน หากเกิดอาการ เช่น สายลมบวม พอง คดงอ ถลอก แตกร้าว สายแข็ง หรือเกิดปัญหาอื่นๆ ให้หยุดใช้งาน แล้วแจ้งช่างเพื่อแก้ไข


การเปลี่ยนสายลมอย่างง่าย โดยที่ไม่ต้องรื้อตลับเก็บ

> ปิดสวิตซ์และปล่อยลมที่เหลือออกให้หมดก่อนเปลี่ยนสาย

> เลื่อนลูกยาง Stopper ให้อยู่ห่างจากตัวเครื่อง เพื่อให้ไม่ลำบากในการเปลี่ยนสายลม

> ถอดสายเก่าและวงแหวนออก แล้วนำสายใหม่ใส่แทน

> ไม่ควรหมุนน็อตแน่นจนเกินไป เพราะอาจทำให้วฃแหวนและข้อต่อชำรุด หรือทำให้ลมรั่วได้

> ติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมต่อในส่วนของปลายสายก่อนที่จะปล่อมลม ตรวจสอบการรั่วไหลของสายลมหรือการดึงสายลม ตรวจสอบให้ละเอียดว่าทำเปลี่ยนสายเรียบร้อยแล้ว

ตลับเก็บสายลม

ตลับเก็บสายลม

ตลับเก็บสายลม


ติดตามเทคนิคดีๆ ได้ที่

Line

LineID: @SmartCost

Facebook

Fanpage: SmartCost

Youtube

Chanal: SmartCost